เพื่อนบ้านทำตัวน่ารำคาญ เปิดเพลงเสียงดัง จัดการอย่างไรดีตามกฎหมาย

ในปัจจุบันนี้พบได้บ่อยครั้งกับการสร้างความรำคาญจากเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นการเปิดเพลงเสียงดัง พูดคุยเสียงดังเอะอะโวยวาย ขับรถเสียงดัง ทำให้เพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกเดียวกัน ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ หากจะเข้าไปตักเตือนด้วยตัวเองก็อาจจะทำให้มีปัญหา หรือมองหน้ากันไม่ติด ดังนั้นในวันนี้เราจะมาดูทางออก ในการแก้ไขปัญหาเพื่อนบ้าน ว่ามีกฎหมายรูปแบบใดบ้างที่สามารถจัดการกับเพื่อนบ้านเหล่านี้ได้

กฎหมายรับมือกับเพื่อนบ้าน 

  • ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา420  และ421 แน่นอนว่าในกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังเจ้าของบ้านผู้ได้รับความเสียหายสามารถใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์จัดการได้ โดยกฎหมายดังกล่าว ระบุว่าผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดีแก่ร่างกายก็ดีอนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดีทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดีท่านว่าผู้นั้นจะละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น รวมถึงการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย หากผู้ได้รับความเสียหาย ถูกจงใจก่อความรำคาญ และรบกวน เมื่อตักเตือนแล้วก็ยังคงประพฤติเช่นเดิม จะต้องเยียวยาด้วยสินไหมทดแทน หรือเยียวยาค่าความเสียหาย ให้กลับสู่สภาพเดิมอย่างเหมาะสม
  • ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์มาตรา1337 บุคคลใดใช้สิทธิของตน เป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อน เกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร ในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบไซร้ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะปฏิบัติการเพื่อยับยั้งความเสียหาย หรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน
  • ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา370 มีโทษปรับ 1,000 บาท แน่นอนว่าในกรณีที่ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง แก้ไขไม่ได้ ต้องดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งชาวบ้านสามารถเอา ผิดทางอาญาโดยในกรณีที่ ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังโดยไม่มีเหตุอันสมควร

นี่เป็นข้อกฎหมายที่คุณสามารถใช้สำหรับรับมือกับเพื่อนบ้านที่สร้างความรำคาญเปิดเพลงเสียงดัง ทั้งนี้คุณสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไป ตักเตือนหรือระงับเหตุต่างๆได้ แน่นอนว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ควร เข้าไปเจรจาด้วยตัวเอง ควรจะติดต่อผ่านผู้ใหญ่บ้านหรือนิติบุคคลต่างๆให้เข้าไปตักเตือน หรือแก้ไขปัญหามากกว่า มิเช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาบานปลาย หรือทะเลาะเบาะแว้งกันได้